เมนู

อเนกวิหิตํ ดังนี้ นี้แลเป็นอนุสนธิ. การพรรณนาบาลีแห่งโลกิยอภิญญา
แม้ทั้ง 5 อันมาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธึ ในบาลีนั้น
ท่านกล่าวไว้เเล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพร้อมทั้งวิธีทำให้อภิญญาเกิด.

ความหวังที่ 13


[86] พึงทราบวินิจฉัยในอภิญยาที่ 6 ต่อไป
บทว่า อาสวานํ ขยา ความว่า เพราะการสิ้นไปแห่งกิเลสทุก
อย่างด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า อนาสวํ ความว่า เว้นจากอาสวะ. ก็ในคำว่า เจโตวิมุตฺติ
ปญฺญาวิมุตฺติ
นี้ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ท่านกล่าวด้วยบทว่า
เจโต ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตมรรคนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยคำว่า
ปัญญา.
ก็ในสมาธิและปัญญานั้น สมาธิ พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ
เพราะพ้นจากราคะ ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้น
จากอวิชชา. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
สมาธิอันใดพึงมี สมาธินั้นพึงเป็นสมาธินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาใด
พึงมี ปัญญานั้นพึงเป็นปัญญินทรีย์ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะ
สำรอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา อย่างนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้ ผลของสมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโต-
วิมุตติ ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็นปัญญาวิมุตติ.
บทว่า ทิฏฺฐว ธมฺเม ได้แก่ในอัตภาพนี้เอง.
บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา ความว่า การทำให้ประจักษ์

ด้วยปัญญาด้วยตนเอง อธิบายว่า รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย.
บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺยํ ความว่า เราพึงบรรลุ คือให้ถึง
พร้อมอยู่.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ประสงค์จะให้อาสวะเหล่านั้นถึง
ความดับอย่างนี้ บรรลุเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ พึงเป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถ้อยคำพรรณนาอานิสงส์ของศีล จน
ถึงพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงรวมแสดงอานิสงส์ของศีลนั้น แม้
ทั้งหมด จึงตรัสคำลงท้ายว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว ฯปฯ อิทเมตํ
ปฏิจฺจ วุตฺตํ
ดังนี้ คำลงท้ายนั้นมีเนื้อความสังเขป ดังต่อไปนี้ว่า:-
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว วิหรถ ฯเปฯ สิกฺขาปเทสูติ
อิติ ยนฺตํ วุตฺตํ
ความว่า คำนั้นใดเราตถาคตกล่าวไว้แล้วอย่างนี้ในกาล
ก่อน คำนั้นทั้งหมดเราตถาคตกล่าวหมายคือเจาะจง (การที่) ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารี เป็นผู้ได้ปัจจัย ผู้ทำทายกผู้ถวายปัจจัยให้มีผลมาก เป็นผู้กระทำ
เจตนาคือการระลึกถึงบุรพญาติให้มีผลมาก เป็นผู้อดทนต่อภัยและความ
หวาดกลัว เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน และอรูปาวจรฌาน เป็นผู้กระทำให้
แจ้งซึ่งคุณเหล่านี้ คือ สามัญญผล 3 เบื้องต่ำ โลกิยอภิญญา 5 อาสวัก-
ขยญาณ ด้วยอภิญญา ด้วยตนเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็มี
ใจดี ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอากังเขยยสูตรที่ 6.

7. วัตถูปมสูตร


[91] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[92] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่
เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใด ๆ คือ
สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมไม่ดี
มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
ผ้าที่บริสุทธิ์หมดจด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใด ๆ
คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมดี
มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิต
ไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
[93] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมอง
ของจิต [คือ] อภิชณาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอด้วยอำนาจ
ความเพ่งเล็ง] พยาบาท [ปองร้ายเขา] โกธะ [โกรธ] อุปนาหะ
[ผูกโกรธไว้] มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน] ปลาสะ [ตีเสมอ] อิสสา
[ริษยา] มัจฉริยะ [ตระหนี่] มายา [มารยา] สาเถยยะ [โอ้อวด]
ถัมภะ [หัวดื้อ] สารัมภะ [แข็งดี] มานะ [ถือตัว] อติมานะ